"สุทิน" ลั่น ลดซื้ออาวุธ ไม่ซื้อเรือดำน้ำ เสนอซื้อเรือแทน รล.สุโขทัย

วันนี้ (9 กันยายน 2566) นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือ "บิ๊กทิน” เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอ และรับฟังรายงาน ในหัวข้อ “ความมั่นคงในระเบียบไทยโลก ความท้าทายทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics)” ของนักศึกษาระดับปริญญาเอก 40 คน ที่วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

โดย นายสุทิน เผย เตรียมเสนอซื้อปุ๋ยแทนเรือดำน้ำ และเปลี่ยนการจัดซื้อเรือดำน้ำเป็นเรือผิวน้ำ เพื่อทดแทนเรือหลวงสุโขทัย

“สุทิน” ลั่น กองทัพพร้อมทำตามนโยบายรัฐบาล ตั้งเป้าเกณฑ์ทหารแบบสมัครใจเริ่มเม.ย.ปี 67

"สุทิน" เดินสายปรึกษา อดีต รมว.กลาโหม สายพลเรือน ต่อเนื่องคำพูดจาก PG SLOT สล็อตเว็บตรง!

ทำความรู้จัก "สุทิน คลังแสง" สส.มือเก๋า นั่ง รมว.กลาโหม "ครม.เศรษฐา 1"

นายสุทิน กล่าวว่า ตั้งแต่เริ่มต้นรับตำแหน่งนี้ ได้เดินสายไปรับฟังข้อมูลมากมาย ยอมรับว่าหนักใจ เพราะกังวลว่า ระหว่างมุมมองของกระทรวงกลาโหมและมุมมองของสังคม จะเข้าใจคำนิยามของคำว่า “ความมั่นคง” ไม่ตรงกัน จึงได้สอบถามสภาความมั่นคง ว่า นิยาม “ความมั่นคง” คืออะไร หากคิดตรงกัน จะได้เดินหน้าต่อไป

นายสุทิน กล่าวต่อว่า หลังจากนี้ถ้าพูดถึงการรักษาความมั่นคง ก็จะพูดถึงการซื้ออาวุธน้อยลง ส่วนเรื่องเรือดำน้ำ ที่หลายคนเฝ้ารอการแก้ไขจากรัฐมนตรีกลาโหมคนใหม่ กองทัพเรือต้องดูว่า เรือดำน้ำมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด ถ้ามีอย่างอื่นทดแทนได้ จะเอาอะไรทดแทน และจะสามารถหาทางออกได้ถ้าคิดเรื่องนี้ได้ พร้อมแนะว่าถ้ารับไม่ได้ที่จะเอาเครื่องยนต์จีนมาใส่ รัฐบาลต้องช่วยเจรจา ไม่ปล่อยให้กองทัพเจรจาอยู่ฝ่ายเดียว โดยรัฐมนตรี หรือรัฐบาลอาจจะไปช่วยเจรจากับทางเยอรมนีให้ขายเครื่องยนต์ให้จีน

นอกจากนี้ ยังเสนอแนวทางที่สอง คือ เปลี่ยนจากเรือดำน้ำ เป็นเรือผิวน้ำได้หรือไม่ ซึ่งความจริงแล้วกองทัพเรือไม่ได้อยากได้เรือดำน้ำ หรือหากเอาเรือผิวน้ำมาทดแทนเรือสุโขทัยได้ก็เป็นเรื่องดี หรืออาจยกเลิกสัญญา เปลี่ยนเรือดำน้ำเป็นการนำเข้าปุ๋ยจากจีนแทน เมื่อเทียบราคากับเรือดำน้ำ 1 หมื่นล้าน ซึ่งจะทำให้เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยที่มีราคาถูกลง

นายสุทิน ยังระบุอีกว่า สาขาวิชาที่เรียนของนักศึกษาระดับปริญญาเอก 40 คน จากวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต น่าจะเป็นศาสตร์วิชาการที่อาจจะตอบโจทย์ความมั่นคงทางการทหารได้ ซึ่งถือเป็นการช่วยบุกเบิกให้ทุกคนได้เรียนรู้ ทำให้ตนเองฉุกคิด ว่าการกำหนดนโยบายของสภาความมั่นคง และกระทรวงกลาโหมจะนำหลักคิดนี้ไปปรับใช้อย่างไร