ไฟป่าในแคนาดา ปล่อยคาร์บอนฯ 160 ล้านตัน

ด้านนักวิทยาศาสตร์กังวลถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไฟป่าในแคนาดาได้ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศมากถึง 160 ล้านตันแล้ว

“มาร์ก แพร์ริงตัน” นักวิทยาศาสตร์จากหน่วยบริการและสังเกตการณ์ชั้นบรรยากาศโคเปอร์นิคัสของสหภาพยุโรป หรือ CAMS ระบุว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ไฟป่าในแคนาดาได้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศสูงถึง 160 ล้านตันแล้วคำพูดจาก เว็บสล็อตแท้

นักเคลื่อนไหวทั่วโลก เรียกร้องให้ยุติใช้พลังงานถ่านหิน

ฤดูหนาวแล้ง ต้นเหตุการขาดแคลนน้ำ-ภัยแล้งในยุโรป

ปริมาณดังกล่าวถือว่ามากที่สุดเป็นประวัติการณ์ของแคนาดา นับตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูลจากดาวเทียมเมื่อปี 2003 และสูงทำลายสถิติเดิมในปี 2014 ที่ไฟป่าปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวม 140 ล้านตัน

คาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากไฟป่าในแคนาดานั้นเทียบเท่ากับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประจำปีของอินโดนีเซียที่มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล นี่ทำให้แพร์ริงตันกังวลถึงผลกระทบต่อสภาพอากาศของโลก เนื่องจากป่าไม้มีบทบาทสำคัญในการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่เมื่อป่าถูกเผาไหม้ก็จะปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศเช่นกัน

สถานการณ์นี้จะเร่งให้เกิดภาวะโลกร้อนเร็วขึ้น และก่อให้เกิดวัฏจักรที่เป็นอันตรายเพราะจะสร้างสภาวะแวดล้อมให้เกิดไฟป่าบ่อยขึ้น แคนาดากำลังเผชิญกับไฟป่าที่เลวร้ายที่สุดในประวัติการณ์ ศูนย์ไฟป่าของแคนาดารายงานว่า ขณะนี้ ไฟป่ายังลุกไหม้อยู่ราว 500 จุด ในจำนวนนี้มากกว่าครึ่งหนึ่งยังไม่สามารถควบคุมเพลิงไหม้ได้ โดยตั้งแต่เริ่มต้นฤดูกาลไฟป่าเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แคนาดาเกิดไฟป่ารวมแล้วราว 3,000 จุด และเผาผลาญพื้นที่ไปแล้วกว่า 48 ล้านไร่

ปกติแล้ว ไฟป่าในแคนาดาจะรุนแรงที่สุดในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม นั่นหมายความว่า ทางการแคนาดายังต้องรับมือกับไฟป่าที่อาจทวีความรุนแรงมากกว่าตอนนี้ ปีนี้แคนาดาเผชิญกับไฟป่าเร็วกว่าปกติ โดยผู้เชี่ยวชาญระบุว่าส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นและสภาพความแห้งแล้งที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดประกายไฟได้ง่ายและลุกลามเร็ว รวมถึงยาวนานกว่าปกติ

นอกจากไฟป่าจะส่งผลต่อสภาพอากาศของโลกแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังกังวลผลกระทบต่อสุขภาพอีกด้วย เนื่องจากควันไฟป่าได้พัดปกคลุมเมืองต่างๆ ในแคนาดา และพื้นที่ทางตะวันออกและเขตมิดเวสต์ของสหรัฐฯ เกิดมลพิษในอากาศ จนทางการต้องออกมาเตือนภัยด้านสุขภาพ

มีรายงานว่า ดัชนีคุณภาพอากาศหรือ AQI ในบางพื้นที่ของเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์แตะระดับกว่า 200 ซึ่งถือเป็นระดับที่ไม่ดีต่อสุขภาพ หน่วยงานด้านสาธารณสุขของสหรัฐฯ เตือนให้ประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ควรจำกัดการทำกิจกรรมกลางแจ้งเมื่อคุณภาพอากาศแย่ลง ด้านโรงเรียนในเมืองชิคาโกสั่งให้จัดกิจกรรมภาคฤดูร้อนในอาคารแทน

ทั้งนี้ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางตะวันออกและเขตมิดเวสต์ของสหรัฐฯ เผชิญกับปัญหามลพิษในอากาศ โดยเฉพาะในนครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา คุณภาพอากาศอยู่ที่ระดับสูงกว่า 400 จุด เป็นระดับอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ ส่งผลให้นิวยอร์กกลายเป็นเมืองอันดับ 1 ที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก

แม้ขณะนี้สภาพอากาศในนครนิวยอร์กจะดีขึ้นแล้ว แต่ทางการรัฐนิวยอร์กยังคงเตือนภัยด้านสุขภาพ เนื่องจากคาดว่าคุณภาพอากาศจะเลวร้ายลงอีกครั้งในสัปดาห์นี้ แต่จะไม่เลวร้ายเท่าช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และล่าสุด ควันไฟป่าในแคนาดาได้ลอยข้ามมหาสมุทรไปถึงยุโรปตะวันตกแล้ว

ภาพถ่ายทางดาวเทียมที่องค์การนาซาเผยแพร่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นกลุ่มควันไฟจากแคนาดาที่ลอยตัวอยู่เหนือมหาสมุทรแอตแลนติก และกำลังจะพัดเข้าสู่ประเทศในยุโรปตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน และสหราชอาณาจักร

หน่วยงานพยากรณ์อากาศของสหราชอาณาจักร หรือ UK Met Office ระบุว่า ควันไฟป่าจากแคนาดาเคลื่อนเข้าสู่ยุโรปด้วยกระแสลมกรด ซึ่งเป็นกระแสลมที่มีความเร็วสูงราว 200-400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมักเกิดที่ระดับความสูงราว 10-15 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก นั่นหมายความว่า ควันไฟจะอยู่ในระดับบนของชั้นบรรยากาศ และจะไม่ทำให้คุณภาพอากาศบนพื้นผิวแย่ลงเหมือนที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ แต่จะบดบังแสงอาทิตย์เท่านั้น

ขณะที่แคนาดาเผชิญกับไฟป่า ประเทศเพื่อนบ้านอย่างสหรัฐฯ ก็กำลังเผชิญกับคลื่นความร้อนที่ส่งผลกระทบในหลายพื้นที่ทางตอนใต้

วันนี้ ทางการสหรัฐฯ ประกาศเตือนภัยประชาชนราว 62 ล้านคนทางตอนใต้ของประเทศ ตั้งแต่รัฐแอริโซนา รัฐเท็กซัส ไปจนถึงรัฐฟลอริดา ให้ระวังภัยจากคลื่นความร้อนจนถึงวันที่ 4 กรกฎาคม อาจทำให้อุณหภูมิพุ่งสูงสุดถึง 44 องศาเซลเซียส รวมถึงขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งและดื่มน้ำบ่อยๆ

โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา มีรายงานผู้เสียชีวิตจากอากาศร้อนแล้ว 1 ราย เป็นเด็กอายุ 14 ปี เสียชีวิตขณะเดินสำรวจธรรมชาติที่อุทยานแห่งชาติในรัฐเท็กซัส คาดว่าเสียชีวิตจากลมแดดเนื่องจากอุณหภูมิที่วัดได้ในขณะนั้นสูงถึง 48.3 องศาฯ

หน่วยงานด้านสภาพอากาศของสหรัฐฯ ระบุว่า สาเหตุที่สหรัฐฯ เผชิญสภาพอากาศร้อนจัดต่อเนื่องนานหลายสัปดาห์นั้น มาจากปรากฎการณ์ “โดมความร้อน”

ปรากฎการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากความกดอากาศสูงบวกกับอิทธิพลของลาณีญา กดดันให้มวลอากาศร้อนลงสู่พื้นดิน เมื่อมวลอากาศร้อนถูกกดไว้และไม่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ ความร้อนจึงถูกสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จนก่อตัวเป็นโดมความร้อน ส่งผลให้คลื่นความร้อนในบริเวณนั้นๆ รุนแรงและยาวนานขึ้น